ขอต้อนรับสู่บล็อกของครูวัลลภ มากมี ช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
เนื้อหาทั้งหมดและภาพประกอบในเนื้อหาของเว็บบล็อกนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาไม่อนุญาตให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่แสวงหาผลประโยชน์ ยกเว้นการลิงก์เข้าสู่เว็บบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เครื่องยนต์แบบโรตารี่, Rotary Engine, Wankel Engine

เมนูสำหรับสมาร์ทโฟน

เปิดบทความของเว็บบล็อกช่างยนต์

เครื่องยนต์ที่ 1-8 ในแผนกช่างยนต์

เครื่องยนต์ที่ 9-14 ในแผนกช่างยนต์

เครื่องยนต์ที่ 15-20 ในแผนกช่างยนต์

เครื่องยนต์ Toyota, Honda, Isuzu และ Nissan ในศูนย์บริการรถยนต์

เครื่องยนต์ Mitsubishi, Mazda, Ford และ MG ในศูนย์บริการรถยนต์

เครื่องยนต์แบบโรตารี่, Rotary Engine, Wankel Engine, Wankel Rotary Engine

            เครื่องยนต์แบบโรตารี่ (Rotary Engine) หรือ Wankel Engine หรือ Wankel Rotary Engine ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หมุนตามแนวรัศมี (Radial Engine) ทำงานตามกลวัตรอ็อตโต (Auto Cycle) 4 จังหวะ คือดูด อัด กำลัง และคาย โดยที่โรเตอร์หมุน 1 รอบจะมีการจุดระเบิด 3 ครั้ง ถูกคิดค้นขึ้นโดย Dr. Felix Wankel ในปี 1950 ใช้โรเตอร์รูปสามเหลี่ยมผสมผสานเฟืองวงแหวน หมุนแกว่งอยู่ในตัวเรือนหรือเสื้อโรเตอร์ห้องรูปวงรี ต่อมาเมื่อปี คศ. 1963  Mazda ได้พัฒนามาใช้กับรถยนต์บางรุ่น สำหรับรุ่นที่ได้รับชื่อเสียงคือ Mazda RX-7 และ RX-8 เครื่องยนต์โรตารี่บางรุ่นของ Mazda ใช้ 1 ถึง 4 โรเตอร์

รูปที่ 1 เครื่องยนต์แบบโรตารี่ โรเตอร์หมุน 1 รอบจะมีการจุดระเบิด 3 ครั้ง


จังหวะดูด
          จากในรูปที่ 2 เมื่อโรแตอร์รูปสามเหลี่ยม (ดูที่มุมของจุดที่ 1 กับ 2) จุดที่ 1 หมุนเปิดช่องไอดีจะทำให้ดูดไอดีเข้ามาในห้องเสื้อโรเตอร์

รูปที่ 2 จังหวะดูด (ดูที่โรเตอร์ระหว่างมุมสามเหลียมจุดที่ 1 กับ 2)


จังหวะอัด
          จากในรูปที่ 3 เมื่อโรแตอร์รูปสามเหลี่ยม (ดูที่มุมของจุดที่ 1 กับ 2)  จุดที่ 2 หมุนผ่านปิดช่องไอดีจะหมุนผลักดันอัดไอดีให้มีปริมาตรลงลด ทำให้ความดันและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น

รูปที่ 3 จังหวะอัด (ดูที่โรเตอร์ระหว่างมุมสามเหลียมจุดที่ 1 กับ 2)


จังหวะกำลัง
          จากในรูปที่ 4 เมื่อโรแตอร์รูปสามเหลี่ยม (ดูที่มุมของจุดที่ 1 กับ 2) จุดที่ 1 หมุนผ่านจังหวะที่หัวเทียนเกิดประกายไฟจะเกิดการสันดาปทำให้มีกำลังานwxผลักดันให้โรเตอร์หมุนต่อไป
รูปที่ 4 จังหวะกำลัง (ดูที่โรเตอร์ระหว่างมุมสามเหลียมจุดที่ 1 กับ 2)


จังหวะคาย
          จากในรูปที่ 5 เมื่อโรแตอร์รูปสามเหลี่ยม (ดูที่มุมของจุดที่ 1 กับ 2) จุดที่ 1 หมุนเปิดช่องไอเสีย โรเตอร์จะผลักดันให้ไอเสียคายออกจากการเผาไหม้
รูปที่ 5 จังหวะคาย (ดูที่โรเตอร์ระหว่างมุมสามเหลียมจุดที่ 1 กับ 2)



รูปที่ 6 เครื่องยนต์ Mazda Rotary
(ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.motortrend.com/)

รูปที่ 7 รูปภาพการทำงานของเครื่องยนต์ Rotary
(ขอบคุณรูปภาพจาก http://betanerd.wordpress.com/tag/education/page/3/

รูปที่ 8 รูปภาพการหมุนของโรเตอร์
(ขอบคุณรูปภาพจาก http://betanerd.wordpress.com/tag/education/page/3/





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น